วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การทาบกิ่ง

รูปแบบการทาบกิ่งแบบ Approach grafting
 
1.1 การทาบกิ่งแบบประกับ ( Spliced approach graft )
 
 
     เลือกกิ่งพันธุ์ดีและต้นตอที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ใช้มีดเฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ให้แผลยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว ส่วนเหนือรอยเฉือนของ กิ่งพันธุ์ ดียาว 30-50 เซนติเมตร จากนั้น เฉือนต้นตอเป็นแผลขนาดเท่ากัน บริเวณใกล้ กับส่วนโคนกิ่งแล้วทาบกันให้สนิทจึงพันด้วย ผ้าพลาสติก
 
 
 1.2 การทาบกิ่งแบบเข้าลิ้น (Tongued approach graft) 
 
 
  
 
 
  
     ปฏิบัติเช่นเดียวกับแบบ spliced approach graft แตกต่างกันบริเวณรอยเฉือนจะทำเป็นลิ้น โดยเฉือนเข้าในเนื้อไม้จากตำแหน่งหนึ่งในสามของ กิ่งทั้งสองให้หงายขึ้นและคว่ำลง ทาบกิ่งทั้งสองให้ลิ้นสอดกันเพื่อทำให้รอยประสาน ไม่ฉีกหักง่ายและยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สัมผัสของแนว เนื้อเยื่อเจริญอีกด้วยนอกจากนั้นยังทำให้การพัน ผ้าพลาสติกทำได้สะดวก 
 
 
 1.3 การทาบกิ่งแบบแกะเปลือก (Inlay approach graft) 
      เป็นวิธีที่ใช้กับพืชที่มีขนาดแตกต่างกันมากระหว่าง ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีหรือพืชที่มีเปลือกของต้นตอหนากว่า กิ่งพันธุ์ดีมักเป็นต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าจะต้องมีเปลือกล่อน สามารถลอกออกได้จึงจะใช้วิธีนี้ นิยมใช้กับมะม่วง มะปราง กระท้อน ขนุน มะขามหวาน ทุเรียน
     การเตรียมต้นตอโดยกรีดเปลือกสองแนวขนาน กันลงมา กว้างเท่ากับขนาดของกิ่งพันธุ์ดีให้ยาว 3-4 นิ้ว แล้วกรีดขวางด้านบน และด้านล่างเพื่อลอกเอาเปลือกออกมา ทั้งชิ้นต้องทำในระยะที่ลอกเปลือกได้ เฉือนด้านหัวและท้ายรอยแผลเข้าไปในเนื้อไม้เฉียงลง ให้จรดกับแนวที่กรีดขวางไว้ทั้งด้านบนและล่าง จากนั้นเฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นแผลรูปโล่ยาวเท่ากับแผล ที่เตรียมไว้บนต้นตอ นำกิ่งทั้งสองมาทาบกันแล้ว พันด้วยผ้าพลาสติก เมื่อต่อกิ่งไว้ 30-45 วันแล้ว จึงควั่นกิ่งต้นตอเหนือรอยต่อและควั่นกิ่งพันธุ์ดี ใต้รอยต่อก่อนตัดออกมาให้ยอดของกิ่งพันธุ์ดี เจริญเติบโตต่อไป 
 
 
 ที่มา/
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=6005348717128830748#editor/target=post;postID=8394890321930805899

การขยายพันธ์ดอกกุหลาบ



การขยายพันธุ์กุหลาบที่นิยมใช้มี 3 วิธี คือ

1. การตัดชำ
วิธีการตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 (เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แล้วแต่พันธุ์ การชำกิ่งนี้ นิยมทำกันมากในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก 
2. การตอน
กิ่งที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ ทั้งนี้ แล้วแต่ พันธุ์ที่จะใช้ตอน

3. การติดตา
วิธีการทำต้นกุหลาบติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออก ดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า (ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุต ขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น

วิธีติดตา วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ
1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง
2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย
3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ
4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก
เพื่อให้ตาเจริญเติบโตเร็วขึ้น ควรปล่อยให้กิ่งใหม่เจริญเติบโตจนกระทั่ง กิ่งใหม่ยาวพอสมควรแล้วจึงตัดต้นตอที่อยู่เหนือกิ่งใหม่ออกทั้งหมด สำหรับ พลาสติก ที่ติดตาอยู่นั้นอาจจะปล่อยให้ผุหรือหลุดไปเองก็ได้ถ้าเห็นว่าแผ่นพลาสติกนั้นรัด ต้นเดิมแน่นเกินไปหรือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของกิ่งใหม่ก็ให้แกะออก
ส่าหรับกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้ ควรมีไม้ผูกพยุงกิ่งไว้เสมอเพราะอาจจะ เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อได้ง่ายเนื่องจากรอยประสานยังไม่แข็งแรงนัก
ในกรณีที่การติดตานั้นไม่ได้ผล คือ แผ่นตาที่นำไปติดตานั้นเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลหรือสีดำให้รีบแกะแผ่นพลาสติกและแผ่นตานั้นออกแล้วติดตาใหม่ในด้าน ตรงข้ามกับของเดิม หากไม่ได้ผลอีกต้องเลี้ยงดูต้นตอนั้นจนกว่ารอยแผลจะเชื่อม ก้นดีแล้วจึงนำมาติดตาใหม่ได้
สำหรับการติดตาในกุหลาบแบบทรงต้นสูง (Standard) นั้นก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ตำแหน่งที่ติดตาอยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้นเอง การติดตาจะติดที่ต้นตอหรือกิ่ง ขนาดใหญ่ที่แตกออกมาก็ได้  ที่มา:กรมส่งเสริมการเกษตร. 2533. ข้อมูลการผลิตไม้ตัดดอกที่สำคัญ. งานไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มพืชสวน กองส่งเสริมพืชพันธุ์


ที่มา https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=6005348717128830748#editor/target=post;postID=3615815931620598412;onPublishedMenu=allposts;onClosedMenu=allposts;postNum=0;src=link


    การติดตามะนาว

    การติดตา (Budding)

     การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นำเอาส่วนตาหรือกิ่งของพืชต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ดีหรือ  กิ่งพันธุ์ดี  ไปติดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป ส่วน ต้นตอ ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบราก นั้น เป็นต้นพืชที่มีความแข็งแรง หาอาหารเก่ง เจริญเติบโตเร็ว  ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี   พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตา มีทั้งไม้ดอก ไม้ประดับและไม้ผล

      การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญทางด้านการช่วยเปลี่ยนยอดต้นพืชที่มีลักษณะไม่ดี ให้เป็นพันธุ์ดีได้  ทำให้พันธุ์พืชมีความแข็งแรง ต้านทานศัตรูและความแห้งแล้งได้ดี เพราะมีต้นตอที่แข็งแรง  สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก เพราะกิ่งพันธุ์แต่ละกิ่งจะมีหลายตา  นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพันธุ์ไม้ด้วย โดยเฉพาะการผลิตพืชแฟนซี ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตหลายอย่างในต้นเดียวกัน เช่น มะม่วงอกร่องมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้ ในต้นเดียวกัน  หรือไม้ดอก เช่น กุหลาบ จะมีดอกหลายสีในต้นเดียวกัน ฯลฯ  ทั้งนี้ การติดตา สามารถ ทำได้สะดวก รวดเร็ว โดยสามารถนำตาจากกิ่งพันธุ์ดี จากแหล่งหนึ่งไปทำการติดตาอีกแหล่งหนึ่งได้ แต่อาจต้องใช้เวลาในการบังคับและเลี้ยงตาใหม่ให้เป็นต้นพืช  ยาวนานกว่าการต่อกิ่ง ดังนั้นผู้ที่ทำการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการติดตา ได้ดี ต้องมีความชำนาญและประณีตในการขยายพันธุ์

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดตา ได้แก่
    1)  ต้นตอ
    2)  กิ่งพันธุ์ดี


    1)  ต้นตอ หมายถึง  ส่วนของต้นพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบราก  หาอาหารหล่อเลี้ยงต้นพืช  มี  2  ชนิด  คือ

         (1)  ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด
         (2)  ต้นตอที่ได้จากการตัดชำ  ตอนกิ่ง หรือแยกหน่อ



               (1)  ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด    ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ผล  เช่น  มะม่วง  ขนุน  ทุเรียน  มะขาม  เป็นต้น   ต้นตอที่มีลักษณะดี  จะต้องมีลำต้นตั้งตรง  ไม่บิดคด หรือมีรอยต่อระหว่างต้นและราก เป็นแบบคอห่าน  ซึ่งเกิดจากการวางเมล็ดลงเพาะผิดวิธี

               (2)  ต้นตอที่ได้จากการตัดชำ  ตอนกิ่ง หรือแยกหน่อ      บางครั้งเรียกว่า  ต้นตอตัดชำ    ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ  เช่น  กุหลาบ  ชบา  เข็ม  โกสน  เฟื่องฟ้า  ผกากรอง  โมก   ฯลฯ    เป็นต้น    ข้อเสียของต้นตอตัดชำ  คือ  มีระบบรากตื้น แต่ถ้านำไปเป็นต้นตอสำหรับไม้ผล  จะต้องทำการเสริมราก เพิ่มขึ้น

    การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น ต้นตอ   ควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้
    (1) เจริญเติบโตเร็ว  ปราศจากโรคและแมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
    (2) ขยายพันธุ์ได้ง่าย ทั้งด้วยวิธีเพาะเมล็ด  ตัดชำหรือตอนกิ่ง
    (3) สามารถเชื่อมต่อกับกิ่งพันธุ์ดีต่าง ๆ ได้มาก
    (4) หาเมล็ดหรือต้นได้ง่าย
    (5)  เป็นพืชที่มีความบริสุทธิ์ของพันธุ์สูง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด

    2)  ตาจากกิ่งพันธุ์ดี    หมายถึง ส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบยอดในต้นพืช สำหรับการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา

    การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น กิ่งพันธุ์ดี   ควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้
    (1) เป็นกิ่งที่มีตาแข็งแรง  ไม่ว่าจะเป็นตายอดหรือตาข้าง
    (2) ควรเลือกจากกิ่งกระโดง หรือกิ่งน้ำค้าง
    (3) เป็นกิ่งที่มีความสมบูรณ์ปานกลาง  โดยสังเกตจากข้อ ที่ไม่ถี่หรือห่างเกินไป
    (4) ตาของกิ่งพอเหมาะ  คือ มีขนาดพอประมาณเท่าดินสอดำ
    (5) เป็นกิ่งที่ได้จากต้นแม่ที่แข็งแรง  สมบูรณ์ ไม่มีโรค
    (6) ถ้าเป็นกิ่งแก่  ควรมีอายุไม่เกิน  1  ปี  เพราะถ้าอายุมากเกินไป ตาที่ติดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร

    วิธีการติดตา
    การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ประหยัดกิ่งพันธุ์ดี  เพราะแทนที่จะใช้

    กิ่งพันธุ์ดีหลายตาเหมือนการต่อกิ่ง  กลับใช้กับกิ่งพันธุ์ดีเพียงตาเดียว  ซึ่งจะอยู่บนส่วนของแผ่นเปลือกไม้  ซึ่งอาจจะมีเนื้อไม้หรือไม่มีเนื้อไม้ ก็ได้ ขบวนการประสานเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นจากการติดตา  มีลักษณะเช่นเดียวกับการต่อกิ่งทุกประการ

    เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตา
    1) ส่วนของพืชที่จะขยายพันธุ์ คือ กิ่งพันธุ์ดี
    2) ส่วนของพืชที่เป็นระบบราก คือ ต้นตอ
    3) มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์หรือมีดติดตาต่อกิ่ง
    4) กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
    5) แถบพลาสติกพันกิ่ง

    ข้อสังเกตเกี่ยวกับการติดตาที่ได้ผลดี   มีดังนี้
    1) ตาต้องอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญเติบโต และอยู่ในระยะพักตัว คือช่วงฤดูหนาว และสังเกต ตาจะนูนออกมาคล้ายๆ กับตาที่กำลังจะแตกยอดใหม่

    2) ต้นตอต้องอยู่ในช่วงที่ไม่พักตัวคือ เป็นช่วงที่กำลังเจริญเติบโต เนื้อเยื่อเจริญกำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว สังเกตจากเวลาใช้มีดกรีดเปลือกไม้จะมีน้ำยางไหลออกมา

    3) รอยแผลที่เฉือนแผ่นตาจะต้องเรียบ แผ่นตาไม่ช้ำและฉีกขาด

    4) การพันพลาสติก ควรพันให้แน่นและปิดรอยแผลไม่ให้น้ำเข้าได้ เพราะถ้าหากน้ำเข้าไปที่แผลติดตา จะทำให้ตาของพืชเน่าตายได้

    5) ตาที่ติดนั้นจะต้องทำให้เนื้อเยื่อเจริญสัมผัสกับต้นตอมากที่สุดและไม่ให้ถูกแดดจัดส่องตลอดเวลา เพราะจะทำให้ตาเหี่ยวและแห้งตาย

    6) มีดและมือจะต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรคหากเชื้อโรคเข้าแผล อาจทำให้แผลเน่าและตาไม่ติดและเน่าตายได้


    รูปแบบการติดตา   มีหลายวิธี    ได้แก่

    1) การติดตาแบบรูปตัวที (T Budding or Shield Budding)
    2) การติดตาแบบเพลต (Plate Budding)
    3) การติดตาแบบแพตซ์ (Patch Budding)
    4) การติดตาแบบชิพ (Chip Budding)

    แต่ที่นิยมใช้ ได้แก่  การติดตาแบบรูปตัวที (T Budding or Shield Budding)  


    การติดตาแบบรูปตัว  ที    มีขั้นตอน  ดังนี้
    1) เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลง แล้วใช้ปลายมีดกรีดเปลือกให้เป็นรูปตัวที (T) โดยกรีดให้ลึกถึงเนื้อไม้ ความยาวของตัวที (T) ประมาณ 3  เซนติเมตร

    2) เฉือนตาของกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ ยาวประมาณ 1 นิ้ว หรือมากกว่าเล็กน้อย และเฉือนให้มีเนื้อไม้ติดมาด้วย

    3) ลอกเนื้อไม้ที่แผ่นตาออก ระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำหรือสกปรก

    4) สอดแผ่นตาลงในแผลของต้นตอที่กรีดไว้ทางหัวรูปตัวที (T) แล้วเลื่อนแผ่นตาลงไปให้อยู่ตรงกลางพอดี ถ้ามีแผ่นตาเหลือยาวเกินรูปตัว (T) ให้ตัดออกเสมอหัวรูปตัวที (T)

    5) ใช้พลาสติกพันกิ่งพันแผลที่ติดตาให้แน่น โดยพันจากบนลงล่าง เพื่อให้เนื้อเยื่อของแผ่นตาแนบสนิทกับลำต้น เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าไปในแผลที่ติดตา

    6) หลังจากการติดตาเสร็จแล้วประมาณ 7-10 วัน ให้ตรวจดูถ้าแผ่นตายังมีสีเขียวอยู่ แสดงว่า แผ่นตาที่นำไปติดกับต้นตอเชื่อมติดกันได้แล้ว จึงพันพลาสติกใหม่ โดยเว้นช่องตาไว้ให้ยอดที่แตกจากตาโผล่ออกมาได้

    ที่มา https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=6005348717128830748#editor/target=post;postID=3515837335078435220