บทที่ 4

แร่ฟอสเฟต

            แร่ฟอสเฟตเป็นสารประกอบที่มีฟอสเฟต (PO4) อยู่ด้วยหรือมีธาตุฟอสฟอรัส (P) ซึ่งเป็นธาตุหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำปุ๋ย แร่ฟอสเฟตที่พบอยู่ในประเทศไทยมี 3 ชนิด
   
         แหล่งแร่ฟอสเฟตพบกัวโน เป็นแหล่งแร่ที่เกิดจากการสะสมมูลนก มูลค้างคาวในบริเวณเขาหินปูน เช่นพบที่เขาอีตุ้มบ้านกาญจน์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่บ้านสบเมย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เขาพนมวังค์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และที่เขาชะโงก เขาเทพพนม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
   
         แหล่งแร่อะลูมิเนียมฟอสเฟต เป็นแหล่งแร่ฟอตเฟสที่เกิดในชั้นหินทราย แร่อะลูมิเนียมฟอสเฟตที่พบ คือ แร่วาริสไคต์ (variscite;Fe-Al phosphate) เช่น พบที่บ้านเหล่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

   
         แหล่งแร่แบบชั้นหิน พบแร่ฟอสเฟตเกิดเป็นชั้นบางๆ มีความหนา 0.2 – 1.5 ซ.ม. แทรกในหินดินดานสีดำ หินเชิร์ต และหินดินเหนียวที่มีสารอินทรีย์ปน เป็นหินอายุไซลูเรียน-ดีโวเนียน แร่ที่พบเป็นฟลูออร์-อะพาไทต์ (fluorapatite; Ca5(PO4)F) พบในบริเวณเขตติดต่ออำเภอฝางและอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงราย

            ประโยชน์ของแร่ฟอสเฟต ส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ย นอกจากนั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ผงซักฟอก ยาสีฟัน ยาฆ่าแมลง วัสดุไฟฟ้า อุปกรณ์ขัดถู วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ ไม้ขีดไฟ ยารักษาโรค การกลั่นน้ำมัน และในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า


ที่มา/https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=6005348717128830748#editor/target=page;pageID=3153806699888897108;onPublishedMenu=pages;onClosedMenu=pages;postNum=5;src=link

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น